วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความลับของแพนด้า


เมื่อเกือบ 200 ปีมาแล้ว มีมิทชันนารีฝรั่งเศสคนหนึ่ง เดินทางเข้าไปในประเทศจีน ได้พบโดยบังเอิญว่า ในประเทศนี้มีสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ที่มีอยู่ที่นี่เพียงแห่งเดียวในโลก นั่นคือ เจ้า หมีแพนด้า
หลังจากนั้นประมาณ 150 ปีต่อมา จีนจึงได้อนุญาติให้สัตว์ชนิดนี้ได้มีโอกาสปรากฏโฉมในสหรัฐอเมริกา และบางประเทศในยุโรป ซึ่งนั่นเป็นครั้งแรกที่ชาวโลกได้รู้จักหน้าค่าตามัน มันจึงกลายเป็นขวัญใจที่เรียกร้องความสนใจจากนักท่องเที่ยวทุกชาติที่ไปเที่ยวสวนสัตว์ที่มีเจ้าหมีแพนด้าอยู่
ครั้นพอจีนเกิดการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 1950 ปิดประเทศและประกาศงดส่งแพนด้าออกนอกประเทศเด็ดขาด แต่เป็นเพราะเจ้าแพนด้าเป็นสัตว์ที่หาไม่ได้ในประเทศอื่น เพราะฉะนั้นเมื่อจีนเปิดประเทศอีกครั้งหนึ่ง หมีแพนด้าจึงกลายเป็นเครื่องมือทางการทูตชั้นเยี่ยมของจีน มันถูกส่งไปเชื่อมสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่น อเมริกา เม็กซิโก การส่งเป็นคู่ ๆ เพื่อให้มันสร้างครอบครัวใหม่ในต่างแดน
แต่ในช่องเวลาไม่ถึง 50 ปีที่มันปรากฏโฉมสู่สายตาชาวโลก ก็มีข่าวว่า เจ้าแพนด้ากำลังจะสูญพันธ์เสียอีกแล้ว เพราะเขาได้สำรวจพบว่า เดิมในเมืองจีนเคยมีเจ้าหมีแพนด้าถึง 34 ชนิดนั้นได้ลดเหลือเพียง 10 ชนิด และมีจำนวนไม่ถึง 1000 ตัว ซึ่งพบว่าสาเหตุใหญ่มาจากพฤติกรรมอันลึกลับของมัน และร่างกายอันแสนประหลาด คือมันมีระบบย่อยอาหารของสัตว์กินเนื้อ แต่กลับกินพืชเป็นอาหาร และกินเฉพาะต้นไผ่เพี ยง 25 ชนิดเท่านั้น ในจำนวนนี้มีบางชนิดต้องใช้เวลา 30-120 ปีกว่าจะนำมาใช้เป็นอาหารได้ และชอบอาศัยอยู่ตัวเดียว
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังทุ่มเทความพยายามที่จะรักษาเผ่าพันธุ์ของมันไว้ นักชีววิทยาพยายามหาวิธีผสมเทียม ก็พบปัญหาที่วงจรตกไข่ที่สั้นมาก ปีหนึ่งจะมีเพียง 72 ชั่วโมงเท่านั้นแต่ถึงอย่างไรขณะนี้มีโครงการที่อนุรักษ์หมีแพน ทั่วโลกส่งเงินไปสมทบช่วยเหลือเป็นเงินมากมายน่าภูมิใจแทนหมีแพนด้าสัตว์โลกน่ารัก ที่มีผู้ห่วงใยถึงขนาดนั้น

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ทำไมพุทธรักษาเป็นดอกไม้ประจำวันพ่อ


“พุทธรักษา” หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวันพระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย
การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเหมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่เชื่อกันว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง
วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และกำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อค่ะ

วันพ่อแห่งชาติ



วันพ่อแห่งชาติ เป็นวันสำคัญสัมพันธ์กับวันแม่แห่งชาติ ในการฉลองความเป็นพ่อและบุคคลที่นับถือในการเป็นพ่อ วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี โดยในกว่า 50 ประเทศจะจัดวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน

จอห์น บี. ดอดด์ ชาวอเมริกันเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดของวันพ่อแห่งชาติ โดยเริ่มต้นที่เมืองแฟร์มอนต์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ในโบสถ์แห่งหนึ่งในแฟร์มอนต์

วันพ่อแห่งชาติในแต่ละประเทศ
19 มีนาคม - สเปน โปรตุเกส อิตาลี
8 พฤษภาคม - เกาหลีใต้
5 มิถุนายน - เดนมาร์ก
วันอาทิตย์ที่สามของเดือนมิถุนายน - ญี่ปุ่น อาร์เจนตินา ไอร์แลนด์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
23 มิถุนายน - โปแลนด์
อาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม - บราซิล
อาทิตย์แรกของเดือนกันยายน - ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน - ฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน
5 ธันวาคม – ไทย

วันพ่อแห่งชาติในประเทศไทย
วันพ่อแห่งชาติในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของ นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษาซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล

วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ในประเทศไทย นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าวันนี้ เป็น “วันชาติของไทย” อีกด้วย
ประวัติ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะ “พ่อแห่งชาติ” ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา อีกทั้งยังทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น “พ่อแห่งชาติ” ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

น้ำตา Tears Larme




น้ำตา คือ น้ำหรือสารคัดหลั่ง ที่มีหน้าที่หล่อเลี้ยงดวงตาให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ น้ำที่หล่อเลี้ยงดวงตานี้หลั่งมาจากต่อมน้ำตา หนังตา และเยื่อบุตา ตลอดเวลาในปริมาณเล็กน้อย จนไม่สังเกตว่ามีน้ำตา แต่เมื่อเวลาที่เกิดอารมณ์ดีใจ เสียใจ หรือมีสิ่งแปลกปลอมทำให้ระคายเตืองตา จะมีน้ำหลั่งมาจากต่อมน้ำตาในปริมาณมากพอให้เห็นได้ บางครั้งอาจมีลักษณะของตาแดง บวมช้ำ ร่วมด้วย




Tears are the liquid product of a process of lacrimation to clean and lubricate the eyes. The word lacrimation (also spelled lachrymation) may also be used in a medical or literary sense to refer to crying. Strong emotions, such as sorrow or elation, may lead to crying. The process of yawning may also result in lacrimation. Although most land mammals have a lacrimation system to keep their eyes moist, humans are the only mammal generally accepted to cry emotional tears.





Tous les mammifères, dont l'être humain sécrètent des larmes . Ce liquide lacrymal est un fluide biologique salé, secrété par les glandes lacrymales au niveau des yeux. Ce liquide nettoie et protège l'œil en facilitant l'évacuation des corps étrangers (poussière, insecte) qui pourraient y aboutir.
Les larmes sont produites lorsque le liquide lacrymal déborde de l'œil ou bien quand les glandes lacrymales sont bouchées. Elles se présentent sous forme de gouttes qui coulent le long des joues : le verbe qui désigne la production de larmes est pleurer (ou parfois larmoyer).Une production
(réflexe) accrue de larmes est activée par certains stimuli, par exemple si le système nerveux détecte un danger au niveau de la cornée tel qu'un contact avec un objet ou un acide (ex : l'acide qui attaque l'œil quand on épluche un oignon ; dans ce cas larmoyer permet de diluer l'acidité et de la chasser de la paroi oculaire.
Les larmes trahissent le plus souvent un état de
désespoir, de tristesse ou de douleur, mais peuvent aussi apparaître en d'autres circonstances émotionnelles : joie, rire... Pleurer est normalement d'un acte réflexe, mais certains comédiens peuvent les produire en évoquant intérieurement des circonstances provoquant la tristesse.
Dans diverses cultures, des "pleureuses" étaient ou sont encore appelées pour pleurer les morts.