
สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย
สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรับรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะทำงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์
สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรับรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะทำงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์
วันนี้เกร็ดความรู้มีวิธีสังเกตอาการของผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาฝากกัน....
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เกิดจากการสูญเสียหน้าที่การทำงานของสมองอย่างเฉียบพลันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองแตก 80% จะเป็นชนิดหลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในสมอง (Ischemic stroke) 20% จะเป็นชนิดหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากการแตกของหลอดเลือดทำให้เกิดเลือดคั่งในเนื้อสมอง (Hemorrhagic stroke) ทำให้เกิดเลือดคั่งในเนื้อสมอง (Hemorrhagic stoke)
อาการของผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้
1. มีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยวหรือชาครึ่งซีก เป็นทันทีทันใด
2. พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจภาษา พูดอ้อแอ้ไม่ชัด เป็นทันทีทันใด
3. ตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็นหรือมองไม่เห็นครึ่งซีกของลานสายตา หรือเห็นภาพซ้อน เป็นทันทีทันใด
4. เวียนศีรษะ บ้านหมุน รู้สึก โคลงเคลง เดินเซ คล้ายคนเมาเหล้า เป็นทันทีทันใด
5. ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับอาเจียนหรือหมดสติเป็นทันทีทันใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น